ประเทศไทย: กระบวนการทบทวนสถานการณ์สิทธิมนุษยชนเน้นย้ำถึงภัยคุกคามต่อเสรีภาพในการแสดงออก

ประเทศไทย: กระบวนการทบทวนสถานการณ์สิทธิมนุษยชนเน้นย้ำถึงภัยคุกคามต่อเสรีภาพในการแสดงออก - Digital

His Excellency Mr. Thani Thongphakdi, Permanent Representative of Thailand to the United Nations Office. Photo by UN DRR.

ในการประชุมครั้งที่ 39 ของคณะทำงานทบทวนสถานการณ์สิทธิมนุษยชน (UPR) เมื่อวันพุธที่ผ่านมา ประเทศไทยได้รับข้อเสนอแนะจาก 106 รัฐ เรียกร้องให้มีการดำเนินการเพื่อปรับปรุงสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศ ซึ่งรวมถึงข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการคุ้มครองเสรีภาพในการแสดงออก การเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร การชุมนุมโดยสงบ และสิทธิในทางดิจิทัล ประเทศไทยต้องตัดสินใจว่าจะยอมรับข้อเสนอแนะเหล่านี้และให้คำมั่นที่จะปฏิบัติตามหรือไม่ก่อนที่จะมีการพิจารณาทบทวนครั้งต่อไป

ในรายงาน UPR ของ ARTICLE 19 ได้กล่าวถึงภัยคุกคามหลักต่อเสรีภาพการแสดงออกในประเทศไทย: การจำกัดสิทธิในการประท้วง การดำเนินคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ และการดำเนินคดีหมิ่นประมาทอาญา ในรายงานร่วมฉบับที่สองของ ARTICLE 19, Manushya Foundation, AccessNow และเครือข่ายอาเซียนเพื่อหยุด #เผด็จการทางดิจิทัล (ASEAN Regional Coalition to #StopDigitalDictatorship) ได้แสดงความกังวลเกี่ยวกับภัยคุกคามต่อสิทธิทางดิจิทัลในประเทศ ในระหว่างการทบทวนสถานการณ์สิทธิมนุษยชน (UPR) ครั้งที่ 3 ของประเทศไทย ไทยได้รับข้อเสนอแนะโดยวาจาทั้งหมด 18 ข้อเรียกร้องให้ประเทศไทยเคารพสิทธิในการประท้วง ประเทศไทยได้รับคำแนะนำจาก 12 รัฐให้ยุติการดำเนินคดีข้อหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพหรือปฏิรูปกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพในประมวลกฎหมายอาญาของไทย และข้อเสนอแนะจากสี่ประเทศเกี่ยวกับการมีกฎหมายหมิ่นประมาทอาญาของประเทศไทยและการใช้การดำเนินคดีเชิงกลยุทธ์เพื่อต่อต้านการมีส่วนร่วมของประชาชน (SLAPP) และอีกเก้าข้อเสนอแนะในประเด็นสิทธิทางดิจิทัล

David Diaz-Jogeix ผู้อำนวยการอาวุโสฝ่ายโครงการของ ARTICLE 19 กล่าวว่า:

“เรายินดีกับข้อเสนอแนะของรัฐต่างๆ เกี่ยวกับเสรีภาพในการแสดงออก และการยอมรับว่าประเทศไทยต้องทำอะไรมากกว่านี้เพื่อปกป้องสิทธิมนุษยชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่ดิจิทัล เราขอเรียกร้องให้ประเทศไทยยอมรับข้อเสนอแนะที่สำคัญเหล่านี้ และรับรองว่าจะมีการดำเนินการที่จริงจังและมีประสิทธิภาพเพื่อจัดการกับความท้าทายด้านสิทธิมนุษยชนในประเทศ”

“การทบทวนสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชน (UPR) เป็นโอกาสพิเศษสำหรับประเทศไทยในการให้คำมั่นสัญญาต่อการปกป้องเสรีภาพในการแสดงออก ข้อเสนอแนะเหล่านี้ต้องมีการดำเนินการอย่างเร่งด่วนผ่านการปฏิรูปอย่างเป็นรูปธรรม เพื่อป้องกันการใช้กฎหมายปิดปากนักปกป้องสิทธิมนุษยชนและนักข่าว และป้องกันการลงโทษและเชือดไก่ให้ลิงดูต่อผู้ประท้วง หากประเทศไทยมองข้ามข้อเสนอแนะเหล่านี้ การเซ็นเซอร์ตนเองจะยิ่งรุนแรงขึ้น และบรรยากาศของความหวาดกลัวจะขัดขวางการมีส่วนร่วมของสาธารณชน”

ข้อมูลเพิ่มเติมติดต่อได้ที่

David Diaz-Jogeix, ผู้อำนวยการอาวุโสฝ่ายโครงการ, [email protected].

Posted In