ประเทศไทย: ประกาศการลบเนื้อหาภายใน 24 ชั่วโมงจะบ่อนทำลายหลักนิติธรรมและสิทธิเสรีภาพในการ แสดงออกบนโลกออนไลน์

องค์กร Access Now องค์กร ARTICLE 19 และคณะกรรมการนักนิติศาสตร์สากล (International
Commission of Jurists หรือICJ) ออกแถลงการณ์ร่วมเพื่อเรียกร้องให้หน่วยงานรัฐยกเลิกประกาศใหม่ที่ให้อำนาจแก่เจ้าหน้าที่รัฐในการออกคำสั่งให้ผู้ให้บริการและสื่อสังคมออนไลน์ระงับการทำให้แพร่หลายของเนื้อหาบางประเภทโดยไม่ต้องมีคำสั่งศาล

องค์กรของเรามีความกังวลอย่างยิ่งว่าบทบัญญัติในประกาศนี้ ซึ่งจะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 25 ธันวาคม 2565และออกโดยกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (MDES) จะส่งผลเป็นการขยายขอบเขตอำนาจของรัฐบาลไทยอย่างไม่ เหมาะสมในการจำกัดสิทธิเสรีภาพในการแสดงออกบนโลกออนไลน์โดยปราศจากการทบทวนจากฝ่ายตุลาการที่ เพียงพอ ประกาศใหม่ที่กำหนดให้ผู้ให้บริการจำเป็นต้องปฏิบัติตามคำสั่งในการระงับเนื้อหาออนไลน์ออกโดยในบาง กรณีจำต้องดำเนินการภายในระยะเวลาเพียงแค่24 ชั่วโมงนั้นไม่สมเหตุสมผลและไม่สอดคล้องกับมาตรฐานการ กำกับดูแลที่ดีและกฎหมายระหว่างประเทศ

แม้ว่ากรอบกฎหมายไทยที่มีอยู่เดิมจะเปิดช่องให้เกิดการแทรกแซงจากภาครัฐในด้านการเซ็นเซอร์เนื้อหาบนโลก ออนไลน์มากจนเกินไปอยู่แล้ว การให้อำนาจเพิ่มเติมแก่หน่วยงานรัฐภายใต้ประกาศใหม่นี้มีแนวโน้มที่จะส่งผลให้สิทธิ เสรีภาพในการแสดงออกบนโลกออนไลน์ของประชาชนถูกจำกัดโดยพลการมากยิ่งขึ้น ขัดกับพันธกรณีด้านสิทธิ มนุษยชนระหว่างประเทศของไทยภายใต้กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (ICCPR) นอกจากนี้ ประกาศดังกล่าวยังไม่เป็นไปตามหลักการมะนิลาว่าด้วยความรับผิดของสื่อตัวกลาง (Manila Principles on Intermediary Liability)ซึ่งวางหลักไว้ว่าเนื้อหาไม่ควรถูกระงับหรือจำกัดโดยไม่มีคำสั่งศาล และคำขอเพื่อให้ ระงับหรือจำกัดเนื้อหาต้องมีความชัดเจน ไม่คลุมเครือ และเป็นไปตามกระบวนการที่เหมาะสม

 

การขยายขอบเขตอำนาจฝ่ายบริหารเพื่อจำกัดหรือระงับเนื้อหา
ภายใต้ประกาศใหม่นี้พนักงานเจ้าหน้าที่ที่ได้รับการแต่งตั้งให้ปฏิบัติงานโดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อ
เศรษฐกิจและสังคมจะมีอำนาจเพิ่มเติมในการออกคำสั่งโดยตรงแก่ผู้ให้บริการและสื่อสังคมออนไลน์ให้ระงับการแพร่หลายของเนื้อหาที่เจ้าหน้าที่ประเมินว่าเป็นการละเมิดพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2560 (พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์) ภายในระยะเวลาที่กำหนด

ข้อ 8 ของประกาศใหม่กำหนดให้เนื้อหาที่เจ้าหน้าที่ประเมินว่าเข้าข่าย “ข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ” โดยประการ ที่น่าจะเกิดความเสียหายต่อ “การรักษาความมั่นคงปลอดภัยของประเทศ ความปลอดภัยสาธารณะ … หรือก่อให้เกิด ความตื่นตระหนกแก่ประชาชน” ตามมาตรา 14(2) ของพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ หรือเป็น “ความผิดเกี่ยวกับความมั่นคง แห่งราชอาณาจักรหรือความผิดเกี่ยวกับการก่อการร้าย” ตามมาตรา 14(3) ของพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์จะต้องถูกระงับการทำให้แพร่หลายภายใน 24 ชั่วโมง นอกจากนี้ข้อมูลที่บิดเบือนหรือปลอมโดยประการที่น่าจะ “เกิดความเสียหายแก่ประชาชน” ตามมาตรา 14(1) ของพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์จะต้องถูกระงับการทำให้แพร่หลายภายในเจ็ดวัน

เราเสียใจอย่างยิ่งที่ประกาศดังกล่าวให้อำนาจแก่รัฐบาลไทยมากขึ้นในการจำกัดเนื้อหาตามพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ ทั้งที่พ.ร.บ.ดังกล่าวเป็นกฎหมายที่ไม่สอดคล้องกับพันธกรณีด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทยอยู่แล้ว ที่ผ่านมา องค์กรของเราได้ประณามการบังคับใช้มาตรา 14 ของ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ซึ่งมีลักษณะคลุมเครือมากจนเกินไป จึงทำให้มาตราดังกล่าวถูกใช้เป็นเครื่องมือเพื่อลงโทษการแสดงออกอย่างเสรีของประชาชน และระงับความคิดเห็นเชิงวิพากษ์วิจารณ์โดยมิชอบผู้รายงานพิเศษด้านการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นและผู้รายงานพิเศษด้านสถานการณ์ของนักปกป้องสิทธิมนุษยชนแห่งคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติได้แสดงความกังวลต่อการใช้มาตรา 14 ของ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์มาเอาผิดกับการใช้สิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นโดยชอบในประเทศไทย บทบัญญัติเหล่านี้ไม่สอดคล้องกับหลักความชอบด้วยกฎหมาย หลักวัตถุประสงค์อันชอบธรรมหลักความได้สัดส่วน และหลักความจำเป็นภายใต้มาตรา 19(3) ของ ICCPR

 

การทบทวนจากฝ่ายตุลาการที่ไม่เพียงพอ
ประกาศดังกล่าวให้อำนาจเพิ่มเติมแก่พนักงานเจ้าหน้าที่ที่ได้รับการแต่งตั้งจากรัฐมนตรีMDES – ซึ่งถือเป็นตัวแทนจากฝ่ายบริหารและไม่ใช้ผู้แทนฝ่ายตุลาการ – ในการหลีกเลี่ยงกระบวนการตรวจสอบของศาลและสามารถออกคำสั่งให้ผู้ให้บริการระงับการทำให้แพร่หลายของเนื้อหาได้เอง อำนาจเหล่านี้จะบ่อนทำลายหลักนิติธรรม รวมถึงบทบาทของศาลในการป้องกันการล่วงเกินอำนาจของฝ่ายบริหารและฝ่ายนิติบัญญัติ และไม่สอดคล้องกับข้อกำหนดภายใต้กฎหมายสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศที่กำหนดว่ารัฐควรจำกัดการแพร่หลายของเนื้อหาตามคำสั่งของหน่วยงานตุลาการที่เป็นอิสระและเป็นกลางเท่านั้น

ประกาศดังกล่าวยังสร้างอุปสรรคเพิ่มเติมสำหรับผู้ใช้งานที่ได้รับผลกระทบและผู้ให้บริการในการใช้สิทธิการอุทธรณ์การระงับการทำให้แพร่หลายของเนื้อหา โดยข้อ 11 ของประกาศกำหนดให้ผู้ให้บริการ สื่อสังคมออนไลน์ และผู้ที่ได้รับผลกระทบโดยตรงจากคำสั่งสามารถอุทธรณ์คำสั่งต่อปลัดกระทรวง MDES หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายภายใน 30 วัน กระบวนการดังกล่าวถือเป็นกระบวนการตรวจสอบตนเองที่ตกอยู่ภายใต้การควบคุมของฝ่ายบริหาร เนื่องจากเป็นการพิจารณาข้อร้องเรียนที่ตกอยู่ภายใต้ดุลพินิจของหน่วยงานที่เป็นผู้ออกคำสั่งตั้งแต่แรก ซึ่งเป็นการขัดต่อหลักนิติธรรมและหลักการที่กำหนดว่ากระบวนการอุทธรณ์จะต้องถูกพิจารณา “โดยหน่วยงานตุลาการที่มีอำนาจ”แม้ว่าการอุทธรณ์คำสั่งภายใต้กรอบของประกาศดังกล่าวจะไม่ได้ตกอยู่ภายใต้การพิจารณาขององค์กรตุลาการที่เป็นอิสระและเป็นกลาง แต่ในทางปฏิบัติมีความเป็นไปได้ว่าผู้ที่ได้รับผลกระทบ ผู้ให้บริการ และสื่อสังคมออนไลน์อาจสามารถขอให้ศาลปกครองเพิกถอนคำสั่งของ MDES ได้หากพวกเขาเห็นว่าผลการอุทธรณ์ตามข้อ 11 ไม่เป็นที่พอใจอย่างไรก็ตามข้อ 10 ของประกาศกลับระบุว่าการอุทธรณ์ใดๆ “ไม่เป็นเหตุให้ทุเลาการบังคับตามคำสั่ง” ในขณะที่กระบวนการพิจารณาคดีดังกล่าวโดยศาลอาจใช้เวลาหลายปี ซึ่งจะส่งผลให้ผู้อุทธรณ์ต้องอยู่ภายใต้กระบวนการทางศาลและทางปกครองซึ่งเป็นกระบวนการที่ยืดเยื้อและกดดันเพียงเพราะพวกเขาต้องการใช้สิทธิเสรีภาพในการแสดงออกบนโลกออนไลน์ของตน นอกจากนี้ยังไม่มีข้อบ่งชี้ถึงกลไกเพิ่มเติมเพื่อพิจารณาและเยียวยาผลกระทบของการละเมิดสิทธิมนุษยชนที่อาจเกิดขึ้นได้ภายใต้กฎระเบียบใหม่นี้

กรอบเวลาสำหรับการระงับการแพร่หลายของเนื้อหาที่ไม่สมเหตุสมผลกรอบเวลาเพียงหนึ่งวันสำหรับการระงับการแพร่หลายของเนื้อหานั้นเป็นข้อกำหนดที่มีความรุนแรงเป็นพิเศษเนื่องจากคำสั่งดังกล่าวไม่ได้ผ่านกระบวนการตรวจสอบจากศาล การกำหนดกรอบเวลาสำหรับการปฏิบัติตามคำสั่งใน
ลักษณะนี้จะก่อให้เกิดแรงกดดันด้านเวลาที่ไม่สมเหตุสมผลต่อผู้ให้บริการซึ่งอาจสร้างแรงจูงใจให้ผู้ให้บริการลบเนื้อหาการแสดงออกทางออนไลน์บางส่วนที่ได้รับการคุ้มครองภายใต้กฎหมายสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศแทนที่จะคัดค้านคำสั่ง เพื่อหลีกเลี่ยงการถูกลงโทษทางอาญา ก่อนหน้านี้องค์กรของเราได้ชี้ให้เห็นว่าระบบและข้อกำหนดเรื่องการลบเนื้อหาที่คล้ายกันในอินโดนีเซียและเวียดนามผลักดันให้แพลตฟอร์มมีแนวโน้มที่จะ “ปฏิบัติตามก่อนประเมินในภายหลัง” ซึ่งเพิ่มความเสี่ยงในการเซ็นเซอร์ออนไลน์

การไม่ปฏิบัติตามกรอบเวลานี้อาจส่งผลให้ผู้ให้บริการและสื่อสังคมออนไลน์ถูกลงโทษในลักษณะที่ไม่สอดคล้องกับหลักความจำเป็นและหลักความได้สัดส่วน ตัวอย่างเช่น ภายใต้ข้อ 9 ของประกาศ การไม่ปฏิบัติตามคำสั่งให้ระงับการทำให้แพร่หลายของเนื้อหาอาจนำไปสู่การสันนิษฐานว่าผู้ให้บริการนั้น “ร่วมมือ สนับสนุน หรือยินยอม” ให้มีการกระทำความผิดตามมาตรา 14 ซึ่งอาจนำไปสู่โทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี ปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับนอกจากนี้ข้อ 16 ยังกำหนดว่าการไม่ปฏิบัติตามคำสั่งอาจส่งผลให้ใบอนุญาตประกอบการของผู้ให้บริการถูกระงับโดยสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการ

โทรคมนาคมแห่งชาติการกำหนดโทษในลักษณะนี้ก่อให้เกิดความเสี่ยงที่ผู้ประกอบการจะปฏิบัติตามประกาศ “มากเกินไป” โดยไม่คำนึงถึงความชอบธรรมของคำสั่ง และเปิดโอกาสให้เกิดการแทรกแซงมากยิ่งขึ้นจากฝ่ายบริหารภายใต้กรอบของพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ซึ่งเป็นกฎหมายที่มีความไม่ชัดเจนในด้านการกำหนดกรอบหรือนิยามลักษณะเนื้อหาออนไลน์ที่สามารถเผยแพร่ได้ตามที่ได้เน้นย้ำไว้ข้างต้น

 

จำเป็นต้องมีการเปลี่ยนแปลงแนวทาง
เนื่องจากข้อกังวลข้างต้น องค์กรของเราเรียกร้องให้หน่วยงานรัฐไทยยกเลิกหรือแก้ไขสาระสำคัญของประกาศฉบับใหม่นี้เพื่อให้สอดคล้องกับพันธกรณีของประเทศไทยภายใต้ ICCPR และหลักนิติธรรม โดยคำสั่งให้ระงับการทำให้แพร่หลายของเนื้อหาจะต้องถูกออกแบบให้แคบลงเพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่ชอบด้วยกฎหมายซึ่งสอดคล้องกับ ICCPR และเป็นไปตามหลักกระบวนการที่ถูกต้องตามกฎหมาย นอกจากนี้ยังต้องเป็นคำสั่งที่ออกโดยหน่วยงานตุลาการที่เป็นอิสระ อีกทั้ง เราขอเรียกร้องให้หน่วยงานรัฐไทยยกเลิกหรือแก้ไขกฎหมายและข้อบังคับอื่น ๆ ที่ไม่สอดคล้องกับกฎหมายสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ ซึ่งรวมไปถึง พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์

 

ความเป็นมา

ประกาศใหม่ให้อำนาจใหม่แก่พนักงานเจ้าหน้าที่ที่ได้รับการแต่งตั้งจากรัฐมนตรีMDES ในการออกคำสั่งให้ผู้ให้บริการและสื่อสังคมออนไลน์ระงับการแพร่หลายของเนื้อหาที่ถูกประเมินว่าละเมิดมาตรา 14 ของ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ภายในระยะเวลาที่กำหนด โดยมาตราดังกล่าวกำหนดความรับผิดทางอาญาโดยอ้างว่ามีวัตถุประสงค์เพื่อต่อต้านข้อมูลเท็จออนไลน์ที่มีลักษณะดังต่อไปนี้

  • โดยทุจริต หรือโดยหลอกลวง “นําเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่บิดเบือน หรือปลอมไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน หรือข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหาย แก่ประชาชนอันมิใช่การกระทําความผิดฐานหมิ่นประมาทตามประมวลกฎหมายอาญา” (มาตรา 14(1));
  • การนําเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่ง “ข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ” โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายต่อการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของประเทศ ความปลอดภัยสาธารณะ … หรือก่อให้เกิดความตื่นตระหนกแก่ประชาชน” (มาตรา 14(2))
  • การนําเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ใดๆ “อันเป็นความผิดเกี่ยวกับความมั่นคง แห่ง
    ราชอาณาจักรหรือความผิดเกี่ยวกับการก่อการร้ายตามประมวลกฎหมายอาญา” (มาตรา 14(3)) และ
  • การนําเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ใดๆที่ “มีลักษณะอันลามกและข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้น
    ประชาชนทั่วไปอาจเข้าถึงได้” (มาตรา 14(4))

 

ความผิดเหล่านี้มีโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี ปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ โดยมาตรา 14 ของ พ.ร.บ.
คอมพิวเตอร์ได้ถูกนำมาใช้ควบคู่กับบทบัญญัติเกี่ยวกับการหมิ่นประมาททางอาญาเพื่อปราบปรามการสดงออกทางออนไลน์ที่ได้รับการคุ้มครองหลายประเภท โดยอาศัยความคลุมเครือของบทบัญญัติเหล่านี้ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564 ศาลอาญาได้แจ้งเจ้าหน้าที่ของ MDES ว่าจะมีการออกแนวปฏิบัติใหม่ซึ่งจะกำหนดให้
มีการเรียกบุคคลซึ่งตกเป็นเป้าหมายของการลบหรือการบล็อกเนื้อหาจำเป็นต้องเข้าสู่กระบวนการไต่สวนก่อนที่ศาลจะออกคำสั่งจำกัดเนื้อหาออนไลน์ อย่างไรก็ตาม มีแนวโน้มว่าข้อกำหนดนี้จะไม่เป็นผล เนื่องจาก MDES จะสามารถออกคำสั่งให้ลบเนื้อหาได้ไม่ต้องผ่านศาล จึงทำให้ไม่มีความจำเป็นต้องใช้กระบวนการไต่สวน

มาตรา 19 ของ ICCPR กำหนดให้ประเทศไทยจำเป็นต้องเคารพและรับรองสิทธิเสรีภาพในการแสดงออกแก่บุคคลทุกคนภายในเขตอำนาจของตน คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติได้ชี้แจงในความเห็นทั่วไปฉบับที่ 34 ว่าการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพในการแสดงออกควรขยายไปถึง “วาทกรรมทางการเมือง การแสดงความเห็น…เกี่ยวกับกิจการสาธารณะ การอภิปรายเรื่องสิทธิมนุษยชน สื่อสารมวลชน…” รวมถึงการแสดงออกที่ไม่ใช่คำพูด และ “รูปแบบการแสดงออกทางอิเล็กทรอนิกส์และทางอินเทอร์เน็ต”ในบางกรณีรัฐอาจจำกัดสิทธิเสรีภาพในการแสดงออก แต่การจำกัดสิทธิดังกล่าวจะต้องเป็นไปตามกรอบกฎหมายของ ICCPR อย่างเคร่งครัด และต้องเป็นไปตามหลักการของความชอบด้วยกฎหมาย วัตถุประสงค์ที่ชอบด้วยกฎหมายหลักความจำเป็น หลักความได้สัดส่วน และหลักการไม่เลือกปฏิบัติ

ผู้รายงานพิเศษของสหประชาชาติว่าด้วยการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิเสรีภาพในการแสดงออกได้ระบุอย่างชัดเจนว่ารัฐควรจำกัดเนื้อหาตามคำสั่งของหน่วยงานตุลาการที่เป็นอิสระและเป็นกลางภายใต้หลักกระบวนการที่ถูกต้องตามกฎหมาย และมาตรฐานที่เหมาะสมในเรื่องความชอบด้วยกฎหมาย หลักความจำเป็น และความชอบธรรมเท่านั้นนอกจากนี้ มาตรา 34 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 บัญญัติให้บุคคลย่อมมีเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น การพูด การเขียน การพิมพ์การโฆษณา และการสื่อความหมายโดยวิธีอื่น และมาตรา 35 กำหนดให้บุคคลซึ่งประกอบวิชาชีพสื่อมวลชนย่อมมีเสรีภาพในการเสนอข่าวสาร หรือการแสดงความคิดเห็นตามจริยธรรมแห่งวิชาชีพ